Assist.prof.Kosin. pattanamanee                                                                                 I Guest book

Best viewed in IE5+ 800x600 Medium fonts ;   Contact us at : e-mail:s4423001@maliwan.psu.ac.th

 

การเลี้ยงกุ้งกุลาดำ
25/10/2545 11:51:14, by
ธิดา เพชรมณี

อาชีพการเลี้ยงกุ้งกุลาดำ

 

 จนถึงวันนี้อาชีพที่เกี่ยวข้องกับสัตว์น้ำที่โดดเด่นที่สุดยังคงเป็นอาชีพการเลี้ยงกุ้งกุลาดำ ในอดีตอาชีพเลี้ยงกุ้งเป็นอาชีพที่มีความเสี่ยงสูงให้ผลตอบแทนสูง ในปัจจุบันอาชีพนี้มีความเสี่ยงสูงยิ่งขึ้น ขณะที่ผลตอบแทนสูงเกิดขึ้นได้ยากกว่าแต่ก่อน เพราะในปัจจุบันปัจจัยในการเลี้ยงกุ้งไม่ดีเหมือนเดิม ทั้งสภาพบ่อ สภาพน้ำ ลูกกุ้ง และอาหารขณะที่มีคู่แข่งมากขึ้นและผู้บริโภคกำลังเรียกร้องต้องการกุ้งปลอดสารพิษและกุ้งที่เลี้ยงโดยไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม ฯลฯเกษตรกรที่เลี้ยงกุ้งอยู่แล้วหรือคิดจะเลี้ยงกุ้งจำเป็นจะต้องเรียนรู้ชีววิทยาของกุ้ง นิสัยของกุ้ง ระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อมที่กุ้งต้องการ รวมถึงการตลาดทั้งจากเอกสาร การสัมมนา การฝึกอบรม และจากผู้มีประสบการณ์ (รวมทั้งประสบการณ์ของตัวเอง) แล้วนำความรู้มาวิเคราะห์เพื่อนำไปสู่การจัดการที่เหมาะสมกับพื้นที่ เวลา และเงินทุน เพื่อให้ต้นทุน คุณภาพ และราคาไปด้วยกันได้ นั่นคือเลี้ยงแล้วไม่ขาดทุนการเลี้ยงกุ้งในปัจจุบันควรมีบ่อพักน้ำหรือบ่อบำบัดอย่างเพียงพอ จะบำบัดโดยใช้สาหร่ายและปลากินเนื้อตามที่คุณอนันต์แนะนำ หรือจะบำบัดโดยกรองทรายให้จุลินทรีย์ธรรมชาติช่วยตามวิธีของ ดร.พุทธ ก็ได้ เนื่องจากคุณภาพของน้ำจากแหล่งน้ำธรรมชาติส่วนใหญ่เสื่อมลงและบำบัดตัวเองไม่ทัน ถ้าไม่ใช้ยาและสารเคมีมากอัตราแลกเนื้อในรุ่นก่อนไม่เกิน 1.4 อาจจะไม่ต้องลอกเลน เพียงแต่ถ่ายน้ำออกตากบ่อให้แห้งหมาดๆ
ถ้าไม่ใช่บ่อดินเหนียวต้องไถพลิกหน้าดินเพื่อให้จุลินทรีย์ในบ่อช่วยทำให้ดินก้นบ่อดีขึ้น ดร.สถาพร บอกว่าดินต้องชื้นๆ ไม่แห้งมากจุลินทรีย์จึงจะช่วยได้ดี ระบบการเติมอากาศใช้ทั้งเครื่องตีน้ำและการวางท่อลมร่วมกัน ดร.พุทธ บอกว่าดีกว่าใช้ระบบใดระบบหนึ่งการเลือกพันธุ์กุ้งมาลงบ่อถ้าเป็นไปได้ควรเลือกจากฟาร์มในพื้นที่เลี้ยงเพื่อเลี่ยงปัญหาที่จะเกิดจากการขนส่ง และเพื่อจะได้ไปติดตามดูลูกกุ้งได้ ฟาร์มอนุบาลลูกกุ้ง
ควรจะสะอาดและอนุญาตให้เราเยี่ยมชมได้ ลูกกุ้งควรจะเป็น พี 15 ยาวประมาณ 1.2 ซม. แผ่นหางกางเต็มที่แล้ว ตัวใสสีอะไรก็ได้ ลำไส้มีอาหารเต็ม หนวด และระยางค์ต่างๆปกติ เมื่ออยู่ในกาละมังถ้าใช้มือกวนน้ำจะวนตามน้ำ เมื่อเราหยุดกวนมันจะหยุดอยู่กับที่หรือพยายามว่ายทวนน้ำไม่ใช่มากองรวมอยู่ตรงกลาง แสดงว่าลูกกุ้งแข็งแรงดีไม่มีโรค ถ้าจะให้แน่ชัดยิ่งขึ้นก็ใช้ช้อนตวงขนาดช้อนชา เจาะรูให้น้ำไหลออก
ตวงลูกกุ้งตามที่คุณคำนึง แนะนำไว้คือ กุ้งพี 15 ตักมา 1 ช้อนชา ต้องได้ลุกกุ้ง 400 ตัว ถือเป็นลูกกุ้งเกรด A นำไปเพาะเลี้ยงจะได้ผลดี แต่ขณะนี้หาได้ยากมาก ถ้าเกรด B ลูกกุ้งใน 1 ช้อนชาก็จะได้ประมาณ 600 ตัว ยังถือว่าใช้ได้หลังจากปล่อยกุ้งลงบ่อแล้วปัญหาส่วนใหญ่จะมาจากเรื่องอาหารสำหรับอาหารของลูกกุ้งเมื่อเริ่มเลี้ยง ปัจจุบันนิยมเตรียมหรือใช้อาหารธรรมชาติ ซึ่งมีส่วนดีและจะช่วยได้มาก เพราะถ้าให้อาหารสำเร็จหรืออาหารผงที่ไม่ดีและมีอาหารเหลือ จะมีปัญหาตามมามาก ดร.พุทธ เคยทดลองพบว่า อาหารเหลือครั้งหนึ่งก่อให้เกิดแอมโมเนียได้เกือบ 10 วัน ขณะที่อาหารมีชีวิตหรืออาหารธรรมชาติเหลือก็ไม่ตาย ทั้งยังช่วยกินสารอินทรีย์และจุลินทรีย์ได้ด้วย อาหารสำหรับลุกกุ้งพี 15 ที่เพิ่งลงบ่อถ้าเป็นพวก โคพีพอด หรือไรน้ำกร่อย หรืออาร์ทีเมียเพิ่งฟัก ถ้าจะกินเปลืองมากจึงหมดไปอย่างรวดเร็วอาหารที่มีขนาดเหมาะกับลูกกุ้งช่วงนี้ควรมีขนาด 5-6 มม. ซึ่งอาจจะเป็นอาร์ทีเมียที่เลี้ยงอย่างหนาแน่น 5-6 วัน (ถ้าแบบที่เลี้ยงในบ่อดินน้ำเค็มจัดจะเป็นการเลี้ยงอย่างไม่หนาแน่น) ลูกน้ำขนาดเล็กหรือลูกไส้เดือนทะเล แต่ที่สำคัญคือหนอนแดงหรือตัวอ่อนของริ้น โดยส่วนใหญ่ริ้นมีอยู่ทั่วไปและจะมาวางไข่ในแหล่งน้ำที่มันได้กลิ่นอาหารซึ่งเป็นพวกสารอินทรีย์ เราสามารถเตรียมอาหารพวกนี้ให้ลูกกุ้งได้เมื่อเริ่มเตรียมบ่อโดยวิธีใดวิธีหนึ่ง ทั้ง 2 วิธีเป็นการใช้น้ำหมักที่ทำเอง วิธีแรกเป็นของคุณพรเทพ จะเตรียมน้ำหมักโดยใช้เศษผัก 3 กก. กากน้ำตาล 1 ลิตร หมักในสภาพไร้อากาศ 5-7 วัน แล้วเอาส่วนที่เป็นน้ำมาใช้เป็นหัวเชื้อโดยหัวเชื้อ 1 ลิตร กากน้ำตาล 1 ลิตร และน้ำ 20 ลิตร หมักแบบเดิมประมาณ 3 วัน นำไปสาดลงบ่อที่ใส่น้ำไว้แล้วในปริมาณ 25 ลิตรต่อไร่ อีก 3-4 วันใส่อีกครั้ง หลังจากนั้นไม่กี่วันก็จะพบอาหารของลูกกุ้งเกิดขึ้น บ่อพร้อมที่จะลงลูกกุ้งได้ส่วนวิธีที่สอง เป็นวิธีของคุณหมอสุรศักดิ์ หมักกากน้ำตาล 1 กก. แป้งมันสำปะหลัง1 กก. รำ 1 กก. ยีสต์ขนมปังหวาน 40 กรัม น้ำ 30 ลิตร หมักแค่ 2วันก็นำไปสาดบนหญ้าแห้งหรือฟางที่มัดเป็นฟ่อนวางไว้ชานน้ำมุมบ่อโดยสาดในตอนเย็น อาหารธรรมชาติที่ต้องการก็จะเกิดขึ้นได้เช่นกัน แต่ถ้าไม่มีอาหารธรรมชาติหรือมีไม่พอในช่วง 2 สัปดาห์แรกไข่ตุ๋นก็เป็นอาหารที่น่าสนใจเพราะกุ้งชอบกินมากกว่าอาหารแห้ง ถ้าเหลือเราสังเกตได้ง่ายและเราสามารถใส่วัตถุดิบได้หลากหลาย
แต่ละวันไม่ต้องเหมือนกันก็ได้ ถ้าผสมเนื้อหอย หมึก หรือเคยได้ก็จะดีมาก เตรียมเสร็จใช้เลยไม่ต้องห่วงเชื้อราไม่ต้องห่วงว่าจะได้สารอาหารไม่ครบเพราะสารอาหารที่ขาดอยู่กุ้งจะได้จากจุลินทรีย์และแพลงก์ตอนที่มีอยู่ในบ่อ ข้อควรระวังก็คือ อย่าให้จนเหลือหรืออย่าให้ในจุดที่กุ้งกินไม่ได้ ไข่ตุ๋นเป็นอาหารสดถ้าเหลือจะก่อปัญหาได้เร็วกว่าอาหารแห้งหรืออาหารสำเร็จความจริงกุ้งกินอาหารสำเร็จได้ตั้งแต่ระยะซูเอียที่กุ้งเริ่มกินอาหาร แต่เพราะยังไม่มีอาหารสำเร็จสมบูรณ์สำหรับลูกกุ้งกุลาดำ และเราอนุบาลลุกกุ้งในน้ำใส (ไม่คิดสีที่
เกิดจากยาหรืออาหารผงหรือสีน้ำเทียม) ธรรมชาติจึงไม่มีโอกาสช่วยสร้างสารอาหารที่ขาดหายไปให้กับลูกกุ้ง ที่สำคัญไปกว่านั้นประเทศไทยอยู่ในเขตร้อนชื้น ทำให้อาหารสำเร็จหรืออาหารไม่มีชีวิตเน่าเสียได้เร็ว ควบคุมคุณภาพของน้ำได้ยาก จึงทำให้การใช้อาหารสำเร็จในโรงเพาะฟักไม่ค่อยได้ผลโดยเฉพาะเมื่อใช้มากตั้งแต่ระยะซูเอียและไม่ค่อยได้ใช้อาหารมีชีวิตในช่วงหลัง สำหรับในบ่อดินเมื่อคุณภาพของดิน-น้ำเสื่อมลง คุณภาพของลูกกุ้งและอาหารไม่สามารถวางใจได้เต็มที่ ประกอบกับการจัดการที่ผิดพลาดจึงทำให้บ่อมีปัญหา กุ้งมีปัญหา การพยายามสร้างหรือใช้อาหารธรรมชาติในเดือนแรกที่เริ่มเลี้ยงจึงเป็นสิ่งที่ควรทำ ทั้งนี้ขอให้เข้าใจว่ากุ้งกินอาหารแบบกัดแทะและใช้กลิ่นเป็นหลักในการพิจารณากิน กุ้งกินได้ทั้งพืช กินได้ทั้งสัตว์ กินได้ทั้งอาหารมีชีวิต กินได้ทั้งอาหารที่ตายแล้ว รวมทั้งซากเน่าเปื่อยและอาหารสำเร็จกินได้โดยไม่ต้องฝึก แต่ถ้ามีให้เลือกกุ้งจะกินอาหารที่ชอบมากกว่า เช่น กุ้ง หอย หมึก ปลา ก่อนอาหารอื่น อย่างไรก็ตาม
กุ้งไม่ใช่นักไล่ล่าสัตว์อื่นเป็นอาหาร กุ้งไม่ใช่สัตว์กินกันเองตามศัพท์ Canibalism คือกุ้งจะไม่สามารถกินกุ้งเป็นๆที่ปกติดี แต่กุ้งอาจจะกินกุ้งที่ป่วยหนัก บาดเจ็บ หรือตาย ไม่สามารถเคลื่อนหนีได้ กุ้งปกติแม้จะอยู่ในช่วงที่กำลังลอกคราบก็จะถูกกินได้ยาก ข้อสำคัญต้องดูแลคุณภาพของน้ำให้ดีกุ้งจะได้แข็งแรง เมื่อไม่มีอาหารธรรมชาติสามารถใช้อาหารสำเร็จเลี้ยงกุ้งได้ทันที โดยใช้อย่างระมัดระวัง อย่าให้จนเหลือโดยเด็ดขาดและต้องหว่านอาหารให้กระจายทั่วถึงในบริเวณที่กุ้งกินได้ ช่วง 5 ทุ่มถึง 6 โมงเช้า ไม่ควรให้เพราะกุ้งกินน้อยและเป็นช่วงวิกฤตในรอบวันในเรื่องออกซิเจน อีกทั้งเป็นช่วงที่กุ้งมักจะลอกคราบ ถ้าน้ำใสขอให้ปรับลดปริมาณอาหารแต่ละมื้อในตอนกลางวันลง แล้วไปเพิ่มอาหารในมื้อหัวค่ำแทน ถ้าในบ่อเกิดปัญหาน้ำเสีย กุ้งป่วยไม่ค่อยกินอาหารหากไม่สามารถถ่ายน้ำได้ ให้หยุดให้อาหารได้เลยกุ้งจะช่วยทำความสะอาดบ่อช่วยเก็บกินอาหารเหลือและเศษซากอื่นรวมทั้ง ขี้แดด ทั้งหมดที่กล่าวมาคือ ข้อมูลเล็กๆน้อยๆที่ฝากให้คนเลี้ยงกุ้งหรือคนที่อยากเลี้ยงกุ้งได้นำไปพิจารณาร่วมกับข้อมูลอื่นๆ ค่ะ ที่สำคัญเกษตรกรควรจะตรวจสอบอาหารสำเร็จที่จะใช้ในเบื้องต้นด้วยตนเองอย่างง่ายๆ เริ่มต้นจากสีต้องสม่ำเสมอ กลิ่นต้องไม่เหม็นหืนเมื่อใส่ลงในตู้ที่เอากุ้งอดอาหาร 3-4 ชั่วโมงมาใส่ไว้ กุ้งจะต้องเข้าหาอาหารภายในเวลา 15 นาที เมื่อแช่อาหารในน้ำไม่มีส่วนที่จะละลายออกมามากและพอจะคีบได้เมื่อครบ 2 ชั่วโมง แสดงว่าอาหารดีมีคุณภาพสม่ำเสมอ ใช้น้ำมันดีมีกลิ่นที่กุ้งชอบ ใช้สารเหนียวเหมาะสม

  
โดย : โกสินทร์  เมื่อ : 23/03/2004

เอกสารอ้างอิง : 

http://www.nicaonline.com/articles2/site/view_article.asp?idarticle=122

Copyright © 2004 - 2005 www.geocities.com/kosin65 All rights reserved.