Assist.prof.Kosin. pattanamanee                                                                                 I Guest book

Best viewed in IE5+ 800x600 Medium fonts ;   Contact us at : e-mail:s4423001@maliwan.psu.ac.th

 

แนวทางและข้อกำหนดสำหรับการเลี้ยงกุ้งทะเล
27/10/2546 10:54:09, by
มะลิ บุณยรัตผลิน และคณะ
 
แนวทางและข้อกำหนดสำหรับการเลี้ยงกุ้งทะเลระบบอินทรีย์
Guideline and Regulation for Oraganic Marine Shrimp Farming in Thailand

มะลิ บุณยรัตผลิน1 นิพนธ์ ศิริพันธ์ 1 ศิริ ทุกขวินาศ2 

 

บทคัดย่อ
     กระแสความต้องการการบริโภคสินค้าเกษตรอินทรีย์เพิ่มมากขึ้นในตลาดโลก สินค้าเกษตรอินทรีย์ เช่น ผักอินทรีย์ ได้ผลิตและวางขายในตลาดมาเป็นเวลานานแล้วสำหรับสินค้าประมง เช่น สัตว์น้ำจากการเพาะเลี้ยงเพิ่งเริ่มดำเนินการด้วยประเทศไทยเป็นผู้นำในการส่งออกสินค้ากุ้งทะเลจากการเพาะเลี้ยงมาตั้งแต่ปี 2534 จนถึงปัจจุบัน   จึงได้จัดทำวิธีการเลี้ยงกุ้งกุลาดำหรือกุ้งทะเลด้วยระบบอินทรีย์โดยได้เริ่มต้นจัดทำแนวทางและข้อกำหนดการเลี้ยงสัตว์ระบบอินทรีย์  ์ ประกอบด้วยหัวข้อหลัก11 ข้อ ได้แก่
1. การเตรียมตัวของเจ้าของฟาร์มและเจ้าหน้าที่ฟาร์ม    
2.การเลือกสถานที่และการรักษาสภาพสิ่งแวดล้อม   
3.การจัดการเลี้ยงทั่วไปและการเตรียมบ่อ
4. การคัดเลือกและการปล่อยลูกกุ้ง 
5.อาหารและการให้อาหาร  
6. การจัดการสุขภาพกุ้ง  
7. น้ำทิ้งและตะกอนเลน 
8. การจับและจำหน่าย  
9. ความรับผิดชอบทางสังคม
10. การรวมกลุ่มและการฝึกอบรมและ  
11. ระบบการเก็บข้อมูล
     การจัดทำแนวทางและข้อกำหนดการเลี้ยงกุ้งกุลาดำระบบอินทรีย์ได้พยายามเชื่อมโยงกับมาตรฐานสากลและองค์กรรับรองสินค้าเกษตรอินทรีย์ระหว่างประเทศ โดยได้
สาธิตและทดลองจัดส่งสินค้าออกสู่ตลาดโลกแล้ว ซึ่งหวังว่าเกษตรกรจะมีความสนใจมาเพาะเลี้ยงกุ้งกุลาดำระบบอินทรีย์กันเพิ่มมากขึ้น และสามารถส่งออกเป็นที่ยอมรับใน
ตลาดโลกในอนาคตอันใกล้นี้

Abstract
     
The world  market  demand  for oraganic  agriculture products has been recently increased. Whilst organic vegetable hasbeen sold in the market for some years, organic shrimp production has been started to develop and to practice not long ago. As
a matter of fact, since 1991 Thailand has been playing as a leading role in athe world market for the production of marine shrimpfrom aquaculture. Due  to the commercial  importance  of  this  commodity  and the  increased  demand  for organic shrimp, both
guidelines and aregulations to produce in such way have been adopted.
     The control throughout the production process address the following: 1. Farm owner and staff  trainning   2. Site  selection  andenvironmental friendly practice   3. Farm management and culture pond preparation   4. Shrimp fry selection and stocking density
5. Feed and Feeding   6. Shrimp health management   7. Effluent and bottom  sediment   8. Harvesting  and  marketing   9. Socialresponsibility   10. Association and training and   11. Documentation.
     These guidelines  and  a  aregulations  are  conforming  to  the  intentional standards set up to certify oraganic agriculture andaquaculture  products. As  present, trialist  organic  farms  have been producting. Processing and distributing shrimp to the world market following  the  procedure in  accordance  with  the  technical  standards  and  regulations  governing  the European Unionorganic agriculture and aquaculture. It is hoped that in Thailand this preliminary phase of organic marine shrimp farming  will  be
followed by a widely diffused practice in the near future.

คำนำ
     ปัจจุบันทั่วโลกกำลังตื่นตัวบริโภคผลิตภัณฑ์ ที่ผลิตโดยวิธีธรรมชาติ เช่น การปลูกพืช  และการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำด้วยระบบอินทรีย์  (Organic farming)  เนื่องจากพบ
ว่าการผลิตโดยวิธีเคมี นอกจากอาจจะได้ผลิตภัณฑ์ที่ไม่ปลอดภัยต่อผู้บริโภคแล้ว ยังทำให้ระบบนิเวศ และสิ่งแวดล้อมขาดความสมดุล มีผลให้อาชีพเพาะปลูกหรือเพาะเลี้ยง
มีผลกระทบและไม่ยั่งยืนการเลี้ยงกุ้งระบบอินทรีย์ยังช่วยฟื้นฟูสภาพแวดล้อม คือ สิ่งมีชีวิตในดินและน้ำมีความหลากหลายและสมดุลการปลูกพืชด้วยระบบอินทรีย์ได้ดำเนิน
การมาเป็นเวลานานแล้ว  แต่การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำด้วยระบบอินทรีย์เพิ่งเริ่มดำเนินการได้ไม่นานนัก และกำลังได้รับความมั่นใจของตลาดผู้บริโภคเพิ่มขึ้นตามลำดับ ด้วยศักย
ภาพการเพาะเลี้ยงกุ้งทะเลของประเทศไทยที่สามารถส่งออกเป็นอันดับ 1 ของโลกตั้งแต่ปี 2534  จนถึงปัจจุบันในท่ามกลางปัญหาโรคไวรัส  ยาตกค้างกุ้งโตช้า ผลผลิตต่อ
พื้นที่ต่ำลง  ผลผลิตลดลง  ราคาตลาดต่ำลง  ต้นทุนการผลิตสูงขึ้นแต่รัฐ ผู้ประกอบการของประเทศไทยก็สามารถแก้ปัญหาได้ระดับหนึ่งจึงเป็นการควรแก่เวลาแล้วที่ผู้เลี้ยง
กุ้งส่วนหนึ่งจะปรับมาดำเนินการเพาะเลี้ยงกุ้งทะเลด้วยระบบอินทรีย์  ทั้งนี้เพื่อรักษาความเป็นผู้นำในด้านเทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงกุ้งทะเลหลากหลายวิธีซึ่งมีฟาร์มสามารถ
ปรับเข้าระบบอินทรีย์ได้ไม่น้อยและรัฐให้การสนับสนุน  นอกจากนั้นแล้วผลิตภัณฑ์กุ้งเลี้ยงโดยระบบอินทรีย์ยังเป็นที่ต้องการของตลาดผู้บริโภคระดับรายได้สูงอยู่ในขณะนี้
อีกด้วย
     บทความนี้ได้รวบรวมและประยุกต์ จากเอกสารการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำระบบอินทรีย์ต่าง ๆ เช่น Standards For Organic Aquacultre (TUN, Vottunarstofa Iceland) International Federation of Orgainc Agriculture Movemants (IFOAM) (United Kingdom) Naturlamd Standards For Oranic
Aquaculture (German) และ Bioagricert (ltaly) สำหรับระบบการเลี้ยงกุ้งอินทรีย์ของ Bioagricert ได้เริ่มมาดำเนินการส่งเสริมให้เกษตรกรในประเทศไทยได้เพาะเลี้ยงกุ้งกุลาดำ และรับรองผลิตภัณฑ์ส่งไปจำหน่ายในตลาดโลกแล้ว   พร้อมกันนี้ได้ประยุกต์วิธีการให้เป็นรูปแบบของประเทศไทยและพยายามสร้างความเชื่อมโยงใน
ระบบรับรองกับองค์กรต่างประเทศ เพื่อให้ระบบรับรองเป็นไปได้อย่างรวดเร็ว และเป็นที่ยอมรับของตลาดผู้บริโภคในต่างประเทศ

แนวทางและข้อกำหนดการเลี้ยงกุ้งทะเลระบบอินทรีย์
     2.1 การเตรียมตัวของเจ้าของฟาร์มและเจ้าหน้าที่ฟาร์ม
     เจ้าของฟาร์มที่ตั้งใจจะปรับเปลี่ยนวิธีการเลี้ยงกุ้งระบบอินทรีย์อย่างจริงจัง และจัดทำคู่มือการเลี้ยงของฟาร์มตัวเองให้ชัดเจน เพื่อจะได้ดำเนินการเลี้ยงได้ มีประสิทธิภาพ
พร้อมทั้งต้องให้เจ้าหน้าที่ทุกคนเข้าใจระบบการเลี้ยงกุ้งอินทรีย์อย่างถ่องแท้ เพื่อจะไม่ให้มีปัญหาหรือประสบอุปสรรคในระหว่างการเลี้ยงโดยสามารถสรุปหลักการได้ดังนี้
          1. เจ้าของต้องสนใจว่าตลาดกุ้งอินทรีย์อยู่ที่ไหน มีความต้องการปริมาณมากน้อยเพียงใด
          2. เจ้าของฟาร์มต้องศึกษาระบบการเลี้ยงกุ้งอินทรีย์ให้เข้าใจทุกขั้นตอน
          3. เจ้าของฟาร์มต้องมีความตั้งใจเลี้ยงกุ้งระบบอินทรีย์ และมีความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม 
          4. เจ้าหน้าที่ฟาร์มทุกนายต้องศึกษาและเข้ารับการฝึกอบรมกุ้งระบบอินทรีย์โดยให้เข้าใจทุกขั้นตอนอย่างละเอียด
          5. ต้องจัดทำคู่มือการเลี้ยงกุ้งอินทรีย์ประจำฟาร์ม
          6. ต้องดำเนินการจัดทำสมุดบันทึกการเลี้ยงโดยให้สอดคล้องกับคู่มือการเลี้ยง

     2.2 การเลือกสถานที่และการรักษาสภาพสิ่งแวดล้อม
     การเลือกสถานที่เลี้ยงนับว่าเป็นปัจจัยแรกที่สำคัญในการประกอบอาชีพการเลี้ยงกุ้งทะเล แต่การเลือกสถานที่เลี้ยงกุ้งอินทรีย์ จำเป็นต้องรักษาสิ่งแวดล้อมให้คงสภาพเดิม
ไว้มากที่สุด แหล่งที่เหมาะสมสำหรับการเลี้ยงกุ้งอินทรีย์ควรอยู่ใกล้ชายทะเลรักษาสภาพป่าชายเลนบริเวณฟาร์มไว้ให้คงสภาพสมบูรณ์ หรือต้องดำเนินการปลูกป่าชายเลน
เพิ่มเติมในบริเวณที่เหมาสม เพื่อเป็นการรักษาสภาพสิ่งแวดล้อมให้เป็นไปตามธรรมชาติซึ่งสามารถสรุปข้อกำหนดได้ดังนี้
          1) เจ้าของฟาร์มควรทราบประวัติการใช้ประโยชน์ของพื้นที่เพื่อประเมินสภาวะความเสียงเกี่ยวกับสารตกค้างจากวัตถุอันตรายทางการเกษตรและมลภาวะต่าง ๆ
          2) สถานที่เลี้ยงควรอยู่ใกล้ชายทะเลมีน้ำทะเลขึ้นลงอย่างสม่ำเสมอ มีความเค็ม และคุณภาพของน้ำเหมาะสมต่อการเลี้ยงกุ้งทะเล
          3) มีสภาพดินเหมาะสมต่อการเลี้ยงกุ้งทะเล คือ ดินเหนียว หรือดินปนทราย ควรหลีกเลี่ยงการขุดบ่อเลี้ยงในสภาพดินกรดหรือดินที่มีอินทรีย์สารต่าง ๆ สูง
          4) ไม่อยู่ในอิทธิพลของแหล่งกำเนิดมลพิษ
          5) ต้องรักษาป่าชายเลนหรือดำเนินการปลูกป่าชายเลนบริเวณฟาร์มเลี้ยง
          6) ต้องจดทะเบียน/ขึ้นทะเบียน/เป็นสมาชิกผู้เลี้ยงกุ้งกับกรมประมง

     2.3 การจัดการทั่วไปและการเตรียมบ่อ
     การจัดการบ่อเลี้ยงที่ดีและการเตรียมบ่อที่ดี   จะป้องกันปัญหาดินเสีย  น้ำเสีย  การระบาดของโรคไม่ลดความหลากหลายทางชีวภาพในแหล่งน้ำชายฝั่งโดยรวมแล้วคือ
สามารถลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ซึ่งเน้นไม่ใช้ยาและสารเคมี ข้อกำหนดมีดังนี้
          1) ควรมีการวางผังฟาร์มเลี้ยงไว้ถูกต้องตามหลักวิชาการโดยมีบ่อพักน้ำไม่ต่ำกว่า 30% โดยสามารถเก็บน้ำและบำบัดได้ 100% ในขณะที่ถ่ายน้ำจับกุ้ง
          2) ควรเลี้ยงระบบปิด หรือถ่ายน้ำหมุนเวียนภายในฟาร์ม แต่สามารถถ่ายน้ำได้บ้างเล็กน้อย ประมาณไม่เกิด 5% ในช่วงท้าย ๆ ของการเลี้ยง
          3) ควรเตรียมดินก้นบ่อให้มีความพร้อมในการเลี้ยงกุ้ง  เช่น  การไถพรวนดินไม่ให้มีตะกอนดินเน่าเสียหลงเหลืออยู่ บางครั้งอาจจะต้องขนดินเน่าเสียบางส่วนไปเก็บ
รักษาหรือปรับปรุงคุณภาพในบริเวณอื่น
          4) สามารถใช้ปุ๋ยอินทรีย์  เช่น  ปุ๋ยหินฟอสเฟต  และโปแตสเซียม  ปูนขาว  ปูเผา  ปูนมาร์ล  และซีไอไลท ์ ในการเตรียมบ่อ เพื่อให้เกิดอาหารธรรมชาติ และปรับปรุง
คุณภาพดินได้
          5) ไม่อนุญาตให้ใช้ปุ๋ยเทศบาลหรือปุ๋ยหมัก จากขยะในเมือง
          6) ไม่อนุญาตให้ใช้จุลินทรีย์และผลผลิตจากจุลินทรีย์ที่มีการดัดแปลงทางพันธุกรรม
          7) เครื่องเพิ่มอากาศควรติดตั้งทั้งผิวน้ำ และหน้าดิน เพื่อรักษาสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการอยู่อาศัยของกุ้งเลี้ยงและอาหารธรรมชาติหน้าดิน
          8) เครื่องเพิ่มอากาศผิวน้ำควรติดตั้งในตำแหน่งที่เหมาะสมเพื่อลดการกัดเซาะของคันบ่อ
          9) ควรมีตะแกรงและถุงกรองกันศัตรูกุ้งเข้าบ่อเลี้ยงแทนการใช้เคมี
          10) การรักษาคุณภาพน้ำในบ่อ โดยการปล่อยกุ้งและกำหนดอัตราการให้อาหารไม่เกินศักยภาพรองรับของระบบเลี้ยง
          11) การดำเนินการเลี้ยงตามวิธีการจัดการคุณภาพกุ้งที่ดี
          12) ห้ามใช้สารเคมีทุกชนิดเพื่อฆ่าหญ้าภายในฟาร์ม
          13) ที่พักอาศัยของเจ้าหน้าที่ฟาร์ม สำนักงานโรงเก็บอาหารและพัสดุควรจัดเรียบร้อยและเก็บอุปกรณ์เป็นที่
          14) ห้องสุขาควรสร้างให้ถูกสุขอนามัยด้วยระบบบำบัดในตัว (ถัง Z) และอยู่ห่างจากบ่อเลี้ยง

     2.4 การคัดเลือกและการปล่อยลูกกุ้ง
     การคัดเลือกลูกกุ้งเป็นปัจจัยที่จะบ่งชี้ถึงความสำเร็จในการเลี้ยงได้เป็นอย่างดี ลูกกุ้งที่มีคุณภาพดีจะเลี้ยงง่าย โตเร็ว และมีอัตราการรอดตายสูงความหนาแน่นของการ
ปล่อยลูกกุ้ง ก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่มีความสำคัญต่อระบบการจัดการเลี้ยงถ้าปล่อยลูกกุ้งหน้าแน่นก็จำเป็นต้องให้อาหารมากโอกาสที่น้ำในบ่อเลี้ยงจะเสียได้ง่าย กุ้งเครียดและ
มีโอกาสเป็นโรคในที่สุด นอกจากนั้นแล้วน้ำทิ้งจะมีปริมาณสารอินทรีย์ความเข้มข้นสูงกว่าที่ควรจะเป็น สำหรับข้อกำหนดเกี่ยวกับการคัดเลือก และการปล่อยลูกกุ้งมีดังนี้
          1) เลือกซื้อกุ้งจากโรงเพาะฟักที่ใช้แม่กุ้งจากทะเลลึกและเลี้ยงด้วยวิธีการเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะที่ได้รับการรับรอง GAP หรือ CoC จากกรมประมง
          2) เลือกซื้อลูกกุ้งที่แข็งแรง โตไว โตสม่ำเสมอ ผ่านการทดสอบแบบ วนัชสุนทร (stress test)
          3) เลือกซื้อกุ้งที่ไม่ได้มาจากพ่อแม่ตัดแต่งทางพันธุกรรม (GMO)
          4) ตั้งแต่ปี 2548 เป็นต้นไปควรซื้อลูกกุ้งจากโรงเพาะฟักลูกกุ้งอินทรีย์
          5) ควรปล่อยลูกกุ้ง PL 15 จำนวนไม่เกิน 32 ตัว/ตารางเมตร หรือประมาณ 50,000 ตัว/ไร่

     2.5 อาหารและการให้อาหาร
     อาหารสำหรับการเลี้ยงกุ้งอินทรีย์จำเป็นต้องเป็นอาหารที่ผลิตจากวัตถุดิบอินทรีย์ ไม่ใช้วัตถุอาหารที่ได้จากการดัดแปลงทางพันธุกรรม (GMOs) นอกจากนั้นแล้ววิธีการ
จัดการให้อาหารอย่างมีประสิทธิภาพก็เป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เศษอาหารเหลือน้อย อัตราการแลกอาหารเป็นเนื้อต่ำ และสามารถลดปัญหาสิ่งแวดล้อมในบ่อเลี้ยงได้เป็นอย่างดี
สำหรับข้อกำหนด มีดังนี้
     1) ควรให้อาหารกุ้งอินทรีย์ที่มีวิธีการผลิตโดยสังเขป ดังนี้
          1.1) ใช้ปลาป่นเป็นแหล่งโปรตีนหลักไม่ใช่กากถั่วเหลืองซึ่งผลิตจากถั่วที่ได้จากวิธีตัดต่อทางพันธุกรรมหรือสกัดด้วยตัวทำละลาย
          1.2) สารและวัสดุอื่น ๆ ในส่วนผสมหลักของสูตรอาหารกุ้ง รวมทั้งสารเหนียวควรเป็นสารอินทรีย์เท่านั้น
          1.3) สามารถใช้อาหารเสริมและวิตามินที่เป็นสารที่ผลิตโดยวิธีอนินทรีย์ได ้ไม่เกิน 5%
     2) ไม่อนุญาตให้ใช้สารสังเคราะห์เพื่อเร่งการเจริญเติบโต และกระตุ้นอาหาร
     3) ห้ามใช้สารเคมีหรือวัตถุสังเคราะห์อื่น ๆ ซึ่งห้ามใช้ในสัตว์น้ำที่ประกาศตามกฏหมายว่าด้วยการควบคุมคุณภาพอาหารสัตว์น้ำ
     4) ควรใช้อาหารเลี้ยงกุ้งที่มีคุณภาพดี และวิธีการให้อาหารที่มีประสิทธิภาพ
     5) อาหารกุ้งควรเก็บไว้บนขาตั้งไม้ในที่ร่มเย็น แห้ง อากาศถ่ายเทดี
     6) ควรให้อาหารสดในกรณีจำเป็นเท่านั้นและควรมีวิธีจัดการที่ดีเพื่อป้องกันน้ำเสีย

     2.6 การจัดการสุขภาพกุ้ง
     การดูแลสุขภาพกุ้งจะช่วยลดความเครียดของกุ้งทำให้กุ้งเจริญเติบโตปกติ   มีอัตราการรอดตายสูง   การดูแลสุขภาพจะเกี่ยวข้องกับระบบการจัดการหลาย ๆ ด้าน  เช่น
การจัดการการให้อาหารการจัดการคุณภาพน้ำ และดินในบ่อเลี้ยง  การเลี้ยงกุ้งระบบอินทรีย์จะไม่สามารถใช้ยาและสารเคมีเหมือนกับการเลี้ยงโดยทั่วไปได้ นอกจากการใช้
สารเคมีบางชนิด ที่อนุญาตให้ใช้ในการจัดการปรับปรุงคุณภาพน้าและดิน และการจัดการสุขภาพกุ้งเบื้องต้น ข้อกำหนดการดูแลคุณภาพกุ้ง มีดังนี้
     1) ควรตรวจสุขภาพกุ้งควบคู่ไปกับการตรวจคุณภาพน้ำในบ่อเลี้ยงอยู่เป็นประจำ
     2) สารที่อนุญาตให้ใส่ได้ในการปรับปรุงคุณภาพน้ำ เพื่อให้กุ้งเลี้ยงคลายเครียดหรือให้ใช้เพื่อภูมิต้านทานโรคและป้องกันรักษาโรคได้แก่
          2.1) ใช้ probiotic จุลินทรีย์และสมุนไพรที่ผลิตจากพันธุ์ปกติไม่ได้ตัดแต่งทางพันธุกรรม (GMOs)
          2.2) Iodophor สำหรับฆ่าเชื้ออุปกรณ์ และเครื่องใช้ต่าง ๆ
          2.3) Hydrogen peroxide และ Sodium hypochloride สำหรับช่วยลดปริมาณแพลงก์ตอนและปรับปรุง คุณภาพน้ำ
          2.4) Chloroform, Chloramine, กรด Formic ซึ่งสามารถใช้ในการปรับปรุงคุณภาพน้ำ และลดปริมาณแพลงก์ตอนในบ่อเลี้ยงได้
     3) ห้ามใช้ยาปฏิชีวนะ สารเคมีและวัตถุต่าง ๆ ที่ไม่ได้กล่าวมาในข้อ 2 อย่างเด็ดขาด
     4) ห้ามใช้วัคซีนที่ทำจากเชื้อตัดแต่งทางพันธุกรรม (GMOs)
     5) ห้ามใช้ฮอร์โมนสังเคราะห์
     6) ถ้าเกิดโรคหรือโรคระบาดต้องปรับปรุงคุณภาพน้ำ เช่น เปลี่ยนถ่ายน้ำมากขึ้นเพื่อช่วยให้กุ้งคลายเครียดหรือใช้สมุนไพร ถ้าอาการจะไม่ดีขึ้นควรจับกุ้งขายทันที
     7) ควรมีมาตรการป้องกันการระบาดของโรคจากบ่อหนึ่งไปยังอีกบ่อหนึ่งและจากฟาร์มหนึ่งไปยังอีกฟาร์มหนึ่ง

 

     2.7 น้ำทิ้งและตะกอนเลน
     น้ำทิ้งจากบ่อเลี้ยงกุ้งประกอบด้วยธาตุอาหาร ตะกอนจุลินทรีย์ แพลงก์ตอน และสารอื่น ๆ อยู่ในระดับสูง วิธีการจัดการเลี้ยงที่ดีจะช่วยให้น้ำทิ้งมีคุณภาพและลดปริมาณ
การทิ้งน้ำได้ ควรหาวิธีการปรับปรุงคุณภาพน้ำทิ้งที่เหมาะสมและพยายามลดปริมาณน้ำทิ้ง ตะกอนเลนควรมีวิธีกำจัดหือมีวิธีการนำไปใช้หรือทิ้งโดยไม่ทำลายระบบนิเวศ
ข้อกำหนดเกี่ยวกับการจัดการน้ำทิ้งและตะกอนเลนมีดังนี้
     1) ควรบำรุงรักษาคลองในระบบฟาร์มและคันบ่อ เพื่อลดการกัดเซาะและป้องกันการเน่าเสียของตะกอนเลนก้นคลอง
     2) ลดปริมาณการทิ้งน้ำโดยปรับเปลี่ยนเป็นการเลี้ยงระบบปิดหรือถ่ายน้ำหมุนเวียน
     3) ควรพิจารณาการใช้ปุ๋ยอินทรีย์เพื่อเพิ่มอาหารธรรมชาติในบ่อเลี้ยงในกรณีที่จำเป็นพร้อมด้วยวิธีการให้อาหารที่มีประสิทธิภาพเพื่อลดเศษอาหารเหลือ
     4) ควรเก็บรักษาเชื้อเพลิง อาหารกุ้งและอุปกรณ์ต่าง ๆ ในลักษณะที่ดี เพื่อป้องกันการรั่วปนเปื้อนลงในน้ำและควรมีแผนการป้องกันแก้ไขเมื่อเกิดปัญหา
     5) น้ำทิ้งต้องมีคุณสมบัติตามเกณฑ์มาตรฐานก่อนปล่อยหรือระบายทิ้ง ดังนี้
          5.1) pH อยู่ระหว่าง 6.5 - 9
          5.2) BOD ไม่เกิน 20 มก./ล.
          5.3) ตะกอนแขวนลอย (ss) ไม่เกิน 70 มก./ล.
          5.4) แอมโมเนียรวมไม่เกิน 1.1 มก./ล.
          5.5) ฟอสฟอรัสรวม ไม่เกิน 0.4 มก./ล.
          5.6) ไนโตรเจน ไม่เกิน 04 มก./ล.
          5.7) ไฮโตรเจนซัลไฟด์ ไม่เกิน 0.01 มก./ล.
     6) ควรระวังการถ่ายเทน้ำออกจากบ่อเลี้ยงเพื่อไม่ให้เกิดตะกอนลอยฟุ้งและควรมีวิธี ลดความเร็ว ของน้ำในคลองน้ำทิ้งและปลายคลอง
     7) ควรออกแบบระบบน้ำทิ้งที่ไม่มีผลกระทบต่อแหล่งน้ำธรรมชาติและบริเวณน้ำทิ้ง
     8) ไม่ควรทิ้งน้ำลงคลองน้ำจืดและแหล่งเกษตรกรรม
     9) ตะกอนจากบ่อเลี้ยง คลองหรือบ่อเก็บน้ำควรเก็บไว้ใช้ถมหรือเสริมบริเวณที่ถูกกัดเซาะ หรือเลือกวิธีการทิ้งไม่เป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อม
     10) ควรมีระบบสาธารณสุขสำหรับเจ้าหน้าที่ของฟาร์ม
     11) ขยะและสิ่งปฏิกูลจากฟาร์มควรมีการทิ้งและกำจัดอย่างถูกวิธี
     12) การจัดการฟาร์มถูกต้องตามระเบียบของทางราชการ
     13) ผู้จัดการควรประเมินวิธีการ การจัดการของเสียดังกล่าวและมีการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง

     2.8 การจับกุ้งและจำหน่าย 
     การจับกุ้งก็มีความสำคัญในการรักษาคุณภาพกุ้งและการป้องกันผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม  วิธีการจับกุ้งที่ดี    เช่น การจับในเวลาที่รวดเร็ว  มีการทำความสะอาดตัวกุ้ง
เบื้องต้น การแช่เย็นอย่างรวดเร็วและการขนส่งอย่างถูกวิธี จะสามารถรักษาคุณภาพและความสดของกุ้งได้อย่างมาก นอกจากนั้นแล้ววิธีจำหน่าย  เช่นการจำหน่ายโดยตรง
ต่อผู้แปรรูป (ห้องเย็น) ก็จะเป็นวิธีการช่วยรักษาคุณภาพและความสดของกุ้งได้อีกวิธีหนึ่ง ข้อกำหนดสำหรับการจับและจำหน่ายมีดังนี้
     1) เกษตรกรต้องวางแผนการจับและจำหน่ายอย่างรวดเร็ว โดยเน้นการรักษาความสด
     2) ควรมีการตรวจสารเคมีตกค้างในตัวกุ้งก่อนการจับ
     3) การจับต้องป้องกันผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม โดยเน้นการรักษาสภาพสิ่งแวดล้อมและการปนเปื้อนเพิ่มเติมของก้นบ่อโดยงดเว้นการใช้สารเคมีช่วยในการจับกุ้ง
     4) ในกรณีที่ว่าจ้างการจับกุ้ง เกษตรกรต้องควบคุมให้มีการจับตามวิธีข้อ 3
     5) เกษตรกรควรพยายามจำหน่ายกุ้งโดยตรงกับผู้แปรรูป เพื่อเป็นการรักษาความสดของกุ้ง
     6) เกษตรกรต้องพยายามส่งเสริมให้มีระบบที่เก็บรักษาความสดในการขนส่งกุ้ง  และวัสดุที่ใช้ เช่น  น้ำแข็งต้องสะอาดและถูกสุขอนามัยไม่เพิ่มความปนเปื้อนลงในวัตถุ
ดิบกุ้งที่จับ
     7) จัดให้มีระบบบันทึกการจับ โดยให้สามารถสอบกลับได้

     2.9 ความรับผิดชอบทางสังคม
     ปัญหาระหว่างผู้เลี้ยงกุ้งกับประชาชนในท้องถิ่นและปัญหาระหว่างลูกจ้างกับนายจ้างส่วนใหญ่เป็นปัญหาแรงงานซึ่งค่อนข้างซับซ้อน วิธีการบริหารฟาร์มที่ดีจะสามารถ
ทำให้ผู้ประกอบการขนาดใหญ่สามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่เนื่องจากประเทศไทยมีฟาร์มขนาดเล็กอยู่เป็นจำนวนมาก ดังนั้น การจัดระบบองค์กรผู้เลี้ยงจะ
เป็นแนวทางหนึ่งในการรวมกลุ่มเพื่อให้การเลี้ยงมีประสิทธิภาพ ซึ่งมีข้อกำหนดดังนี้
     1) ผู้เลี้ยง หรือองค์กรผู้เลี้ยงควรมีการพบปะกับชุมชนท้องถิ่นเป็นครั้งคราว
     2)  ผู้เลี้ยงหรือองค์กรผู้เลี้ยงควรพยายามใช้ทรัพยากรในท้องถิ่นอย่างประหยัดและส่งเสริมการปลูกป่าชายเลน   เพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับชุมชนท้องถิ่น  และไม่
กระทบต่อสิ่งแวดล้อม
     3) ผู้เลี้ยงหรือองค์กรผู้เลี้ยง ควรช่วยเหลือชุมชนในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมท้องถิ่น สาธารณสุขความปลอดภัยและการศึกษา
     4) ผู้เลี้ยงหรือองค์กรผู้เลี้ยง ควรสร้างความเข้าใจในหน้าที่ และระบบการทำงานขององค์กรฟาร์มให้แก่ลูกจ้าง
     5) ควรพิจารณาจ้างแรงงานท้องถิ่น
     6) ควรจัดจ้างแรงงานตามกฎหมาย
     7) ควรมีระบบสวัสดิการต่อแรงงานอย่างครบถ้วน
     8) ควรมีนโยบายระบบการจัดการฟาร์มที่ชัดเจน

     2.10 การรวมกลุ่มและการฝึกอบรม
     จากข้อมูลการพัฒนาการเลี้ยงกุ้งในประเทศไทยพบว่าการรวมกลุ่มผู้เลี้ยง โดยมีการพบปะแลกเปลี่ยนประสบการณ์ด้านเทคนิคและการจัดการเลี้ยงจะช่วยให้การเลี้ยงกุ้ง
มีการพัฒนาได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้การพัฒนาสู่การเลี้ยงกุ้งอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม จำเป็นต้องเข้ารับการฝึกอบรมเพื่อเพิ่มพูน
ความรู้ทางวิชาการคำแนะนำสำหรับการรวมกลุ่มและการฝึกอบรมมีดังนี้
     1) ควรมีการรวมกลุ่มเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลการเลี้ยงอย่างสม่ำเสมอ
     2) ควรเข้าร่วมการฝึกอบรมด้านวิชาการทั้งการจัดการการเลี้ยง และการใช้ปัจจัยการผลิต
     3) ควรเข้าร่วมการฝึกอบรมด้านกฎระเบียบและกฎหมายที่เกี่ยวกับอุตสาหกรรมเพาะเลี้ยงกุ้ง
     4) ควรส่งเสริมด้านจริยธรรมและคุณธรรมต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม

     2.11 ระบบการเก็บข้อมูล
     ระบบการจัดการเพื่อการเลี้ยงกุ้งทะเลสามารถดำเนินการไปได้อย่างมีประสิทธิภาพพร้อมกับมีการแก้ไขปรับปรุงอยู่ตลอดเวลา   จำเป็นอย่างยิ่งต้องมีระบบการเก็บข้อมูล
ของการเลี้ยงที่ดีเพื่อสามารถทบทวนข้อมูลนำไปสู่การปรับปรุงระบบ   เพื่อการดำเนินการอย่างมีประสิทธิภาพหรือการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตในรุ่นต่อ ๆ ไปได้  หรือใน
กรณีที่มีปัญหาในการเลี้ยง เช่น ปัญหาโรคระบาด ผู้เลี้ยงสามารถนำข้อมูลที่เก็บไว้มาพิจารณาเพื่อหาสาเหตุและหาลู่ทางเพื่อการปรับปรุงแก้ไขในการเลี้ยงรุ่นต่อไปได้ข้อมูล
ที่ควรเก็บมีดังนี้
     1) การเตรียมตัวของเจ้าของฟาร์มและเจ้าหน้าที่ฟาร์ม
     2) การเลือกสถานที่และการรักษาสภาพสิ่งแวดล้อม
     3) การจัดการการเลี้ยงทั่วไปและการเตรียมบ่อ
     4) การคัดเลือกและการปล่อยลูกกุ้ง
     5) อาหารและการให้อาหาร
     6) การจัดการสุขภาพกุ้ง
     7) น้ำทิ้งและตะกอนเลน
     8) การจับและจำหน่าย
     9) ความรับผิดชอบทางสังคม
     10) การรวมกลุ่มและการฝึกอบรม
     11) รายละเอียดเรื่องการเลี้ยงทั้งหมด

ตารางที่ 1 เปรียบเทียบการเลี้ยงกุ้งระบบอินทรีย์และระบบการรับรองคุณภาพอื่น ๆของกรมประมง

  ข้อกำหนด  
 ข้อปฏิบัติ
หมายเหตุ
กุ้งอินทรีย์
กุ้งCoC
กุ้งGAP
  1.การเตรียมตัวของเจ้าของฟาร์มและเจ้าหน้าที่ฟาร์ม          
     / = ปฏิบัติ
    1.1 เข้าใจในระบบ, ศึกษาและฝึกอบรม
/
/
/
     - = ไม่จำเป็นต้องปฏิบัติ
    1.2 จัดทำคู่มือ
/
/
/
  
    1.3 บันทึกข้อมูล
/
/
/
  
2.การคัดเลือกสถานที่และการรักษาสภาพสิ่งแวดล้อม
  
  
  
  
    2.1 เหมาะสมด้านวิชาการ
/
/
/
  
    2.2 รักษาป่าชายเลนหรือปลูกเสริม
/
-
-
  
    2.3 จดทะเบียน / เป็นสมาชิกกับกรมประมง
/
/
/
  
3. การจัดการทั่วไปและการเตรียมบ่อ
  
  
  
  
    3.1 บ่อพักน้ำ / บำบัดน้ำทิ้ง
/
/
-
  
    3.2 เป็นการเลี้ยงระบบปิด
/
-
-
  
    3.3 การใช้ปุ๋ยและวัตถุอินทรีย์เท่านั้น
/
-
-
  
    3.4 ใช้ปูนขาว ปูนเผา ปูนมาร์ล และซีโอไลท์ได้
/
/
/
  
    3.5 การจัดระบบสุขอนามัยฟาร์ม
/
/
/
  
4. การคัดเลือกและปล่อยลูกกุ้ง
  
  
  
  
    4.1 ตรวจลูกกุ้ง แนบวนัชสุนทร
/
-
-
  
    4.2 ลูกกุ้ง GAP / CoC
/
/
/
  
    4.3 กำหนดอัตราการปล่อย
  
  
  
  
          1) 50,000 ตัว / ไร่
/
-
-
  
          2) 70,000 ตัว / ไร่
-
/
-
  
5. อาหารและการให้อาหาร
  
  
  
  
    5.1 อาหารกุ้งอินทรีย์
/
-
-
  
6. การดูและรักษาสุขภาพกุ้ง
  
  
  
  
    6.1 ห้ามใช้ยาและสารเคมี
/
-
-
  
    6.2 ตรวจสารตกค้างก่อนจับ
/
/
/
  
    6.3 ใช้จุลินทรีย์และสมุนไพร (non GMOs)
/
-
-
  
    6.4 ใช้สารปรับปรุงคุณภาพน้ำและดินบางชนิดได้
/
/
/
  
    6.5 เกิดโรค ใช้ยาและสารเคมีไม่ได้
/
-
-
  
7. น้ำทิ้งและตะกอนเลน
  
  
  
  
    7.1 ปรับปรุงคุณภาพน้ำ
/
/
-
  
    7.2 กำหนดคุณภาพน้ำทิ้ง
/
/
-
  
    7.3 จัดระบบสุขอนามัยฟาร์ม
/
/
/
  
8. การจับกุ้งและจำหน่าย
  
  
  
  
    8.1 ตรวจสารตกค้างก่อนจับ
/
/
/
  
    8.2 ไม่ใช้สารเคมีในการจับกุ้ง
/
/
-
  
    8.3 จับอย่างรวดเร็ว เพื่อรักษาความสด
/
/
-
  
    8.4 น้ำแข็งใช้รักษาความสดของกุ้งต้องสะอาด
/
/
-
  
9. ความรับผิดชอบทางด้านสังคม
  
  
  
  
    9.1 เป็นมิตรกับเพื่อนบ้าน
/
/
-
  
    9.2 จ้างแรงงานถูกต้องตามกฎหมาย
/
/
-
  
10. การรวมกลุ่มและฝึกอบรม
  
  
  
  
     10.1 รวมกลุ่มผู้เลี้ยง
/
/
-
  
     10.2 ฝึกอบรมอยู่เป็นประจำ
/
/
-
  
11. ระบบการเก็บข้อมูล
/
/
-
  


  

โดย : โกสินทร์  เมื่อ : 23/03/2004

เอกสารอ้างอิง: http://www.nicaonline.com/articles2/site/view_article.asp?idarticle=146

Copyright © 2004 - 2005 www.geocities.com/kosin65 All rights reserved.